บทความ

การเชื่อมโลหะ (welding) หมายถึง การต่อโลหะ 2 ชิ้น ให้ติดกัน โดยการให้ความร้อนแก่โลหะ จนหลอมละลาย ติดเป็นเนื้อเดียวกัน หรือการเติม ลวดเชื่อมเป็นตัวให้ประสานกันก็ได้ กรรมวิธีในการเชื่อมโลหะ ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีดังต่อไปนี้ 

  1. การเชื่อมแก็ส (Gas Welding)
  2. การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
  3. การเชื่อมอัด (Press Welding)
  4. การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)
  5. การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding)
  6. การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding

ประเภทของงานเชื่อม

  • การเชื่อมแก็ส (Gas Welding)

การเชื่อมแก๊ส อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้ ระหว่าง แก๊สเชื้อเพลิงอะเซทิลีน กับออกซิเจน หลอมละลายโรหาให้ติดกันด้วยการเติมลวดเชื่อม (Filler Metal or Welding rod) หรืออาจให้เนื้อโลหะหลอมละลายติดกันเอง โดยไม่เติมลวดเชื่อมก็ได้.

  • การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
  • การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding)

การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้าที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมเปลือย กับชิ้นงานเชื่อม โดยจะมีฟลักซ์ชนิดเม็ด (Granular Flux) ปกคลุมบริเวณอาร์คและฟลักซ์ ส่วนที่อยู่ใกล้กับเนื้อเชื่อม จะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อม เพื่อป้องกันอากาศภายนอกทำปฏิกริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อม จะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

อันตรายที่แฝงกับ งานเชื่อม เป็นอย่างไร?

การเชื่อมโลหะ เป็นอุตสาหกรรม ที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารร้านค้าต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องจักรกลต่าง ๆ ต้องมีการเชื่อมยึด เพื่อให้เกิดความมั่นคง การเชื่อมโลหะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่รังสีจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า หรือแก๊ส คือ รังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อผู้เชื่อมได้รับรังสีนาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้ หรือทำให้ผิวหนังตกกระแก่ก่อนวัย ผิวหนังเหี่ยว แสงที่เกิดจากการเชื่อม เป็นแสงที่มีความเข้มข้นมากถ้ามองด้วยตาเปล่า สายตาอาจจะเสีย หรือบอดได้ นอกจากแสงแล้ว อาจจะมีสะเก็ดโลหะที่ร่อนกระเด็นเข้าสู่ตาได้

เกิดจาก การนำความร้อนที่ใช้ในการเชื่อมจากการเกิดประกายอาร์ค ระหว่างชิ้นงาน และลวดเชื่อม จะทำให้ลวดเชื่อมหลอมละลายเสมือนเป็นการป้อนเนื้อโลหะให้แก่รอยเชื่อม

  • การเชื่อมอัด (Press Welding)

การเชื่อมอัด หมายถึง การประสานโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยใช้ความร้อนกับชิ้นงาน ในบริเวณที่จะทำการเชื่อม จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลาย จนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเกิดแนวความร้อนที่ใช้ได้จากความต้านทานไฟฟ้า เช่น การเชื่อมจุด (Spot Welding) เป็นต้น

  • การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)

เป็นวิธีการเชื่อมโลหะ โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค ระหว่างลวดทังสเตนกับชิ้นงาน โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อม และบ่อหลอมละลาย เพื่อไม่ให้บรรยากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาตรงบริเวณที่เชื่อม

  • การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding)

การเชื่อม MIG เป็นกระบวนการเชื่อมที่ได้รับความร้อนจากการอาร์ค ระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้ จะเป็นลวดเชื่อมเปลือย ที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่องไปยังบริเวณอาร์ค และทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลาย จะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ

 

ข้อปฏิบัติใน การเชื่อมโลหะ  

เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะ ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์การเชื่อมโลหะให้มีความสมบูรณ์ในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้า
  • ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากหยุดการเชื่อมและเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อม
  • สวมหน้ากากหรือต้องสวมแว่นตาและเลือกกระจกแสงให้ถูกต้องทุกครั้งในการเชื่อม จะเป็นชนิดสวมหัว (Helmet shield) หรือชนิดมือถือ (Hand shield) ก็ได้ และต้องเลือกกระจกกรองแสงให้ตรงตามมาตรฐานตามลักษณะงานที่นำไปใช้และจำนวนกระแสไฟเชื่อมด้วย
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
  • ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ควรมองแสงอาร์กด้วยตาเปล่า
  • บริเวณงานเชื่อมควรมีฉากป้องกันแสงอาร์ก เพื่อไม่ให้รบกวนบุคคลอื่น
  • บริเวณทำงานเชื่อมไม่ควรเปียกชื้น เพราะจะทำให้ไฟฟ้าดูดต่อผู้ปฏิบัติงานและบุคคลอื่นได้
  • บริเวณทำงานเชื่อมจะต้องปราศจากสารไวไฟชนิดต่าง ๆ
  • เครื่องเชื่อมไฟฟ้าควรจัดตั้งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก